วันพฤหัสบดีที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ทดสอบหน้า1




ทดสอบการสร้างบล็อกเพื่อการศึกษา



แก่งกะเบา ท่ามกลางบรรยากาศ 2 ฝั่งโขง ของแก่งหินที่กว้างใหญ่ ยามน้ำลดจะมองเห็นแก่งหินทอดยาวตั้งแต่ฝั่งไทยไปยังฝั่งลาว เรียกว่าเกือบจะเดินข้ามแม่น้ำได้เลยว่างั้น สถานที่แห่งนี้ก็คือแก่กะเบา สถานที่พักผ่อนสำหรับชาวบ้านในละแวกใกล้เคียง รวมถึงนักเดินทางที่สัญจรผ่านมาอย่างพวกเรา ครั้งหนึ่งจำได้ว่าผมมาแก่งกะเบาตอนเปิดสะพานมิตรภาพไทย - ลาว แห่งที่ 2 ที่มุกดาหาร หลังจากนั้นก็ไม่ได้มาที่นี่อีก จนกระทั่งมีการสร้างสะพานมิตรภาพไทย - ลาว แห่งที่ 3 ขึ้น ที่นครพนม ข้ามไปยังคำม่วน ประกอบกับการเดินทางแสวงบุญไหว้พระธาตุประจำวันเกิด ที่นครพนม จึงได้มีโอกาสกลับมาที่แก่งกะเบาแห่งนี้อีกครั้ง
นับเวลาก็ผ่านไปหลายปี ก่อนหน้านี้แก่กะเบาและดูสงบประกอบไปด้วยร้านอาหารไม่กี่ร้าน นักท่องเที่ยวบางตา จนเกือบจะเรียกได้ว่าไม่มีคนมาเที่ยวเลย นอกเสียจากจะเป็นฤดูกาลท่องเที่ยว ซึ่งก็คงไม่พ้นปีใหม่กับสงกรานต์ โดยเฉพาะช่วงสงกรานต์นั้น คนมาเที่ยวแก่งกะเบาเยอะมาก เพราะเป็นเพียงช่วงเวลาเดียวที่จะสามารถลงเล่นน้ำโขงได้โดยไม่ต้องกังวลเรื่องกระแสน้ำเชี่ยว น้ำลึก จวบจนวันนี้ วันที่ผมไปแก่กะเบาอีกครั้ง ไม่น่าเชื่อเลยว่า การท่องเที่ยวแก่งกะเบา กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่คึกคัก นี่ขนาดผมไปเดือน มีนาคม น้ำยังไม่ลดลงเต็มที่ เห็นแก่งหินโผล่ขึ้นมาก็ไม่มาก น้ำลึกและเชี่ยว แต่ก็ยังมีหลายคนที่พาครอบครัวเดินทางมาพักผ่อน ร้านค้าร้านอาหารก็ผุดขึ้นมามากมายหลายร้าน จนแน่ตลิ่งแม่น้ำโขง เดี๋ยวจะพาไปดูว่าจริงเท็จประการใด


ร้านอาหารริมโขงแก่งกะเบา หลังจากที่ขับรถจากกรุง เดินทางยาวนานกว่า 600 กิโลเมตร แวะเที่ยวหลายต่อหลายที่ ในจังหวัดร้อยเอ็ดก่อนที่จะมุ่งหน้ามาทางอำเภอหนองพอก ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องแวะไปชมพระมหาเจดีย์ที่สวยที่สุดในภาคอีสาน พระมหาเจดีย์ชัยมงคล จากนั้นมุ่งหน้าเข้าอำเภอนิคมคำสร้อย (ผ่านเลิงนกทา) ถึงบริเวณตัวเมืองมุกดาหารก็เข้าทางเลี่ยงเมือง หลังจากนั้นก็ขับเลียบแม่น้ำโขงผ่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 2 มุ่งหน้าอำเภอธาตุพนม เพื่อนมัสการพระธาตุพนม พระธาตุประจำวันเกิดสำหรับผู้เกิดวันอาทิตย์ เป็นพระธาตุองค์แรกของทริปไหว้พระธาตุประจำวันเกิดทั้ง 8 องค์ ระยะทางประมาณ 43 กิโลเมตร จากตัวเมืองมุกดาหาร ก่อนจะถึงตัวอำเภอธาตุพนม 24 กิโลเมตร เป็นที่ตั้งของแก่งกะเบา เราก็เลยใช้ร้านอาหารที่แก่งกะเบาเป็นสถานที่เติมพลังงานใส่กระเพาะ รวมทั้งที่พักรถพักคนโดยเฉพาะคนขับคือผมเอง พอเดินมาถึงร้านที่เป็นกระท่อมเปิดโล่งลมโกรกเย็นๆ ก็เอาหมอนมาเอนหลังนอน ในขณะที่เพื่อนๆ ร่วมทริปก็สั่งอาหารแบบจัดเต็มอาหารอีสานล้วนๆ เดี๋ยวมีรูปให้ดู แต่ตอนนี้ชมวิวของแก่งกะเบากันไปก่อนอย่างที่เห็นว่าแก่งกะเบาถ้าน้ำไม่ลดระดับลงจริงๆ ละก็ เราก็ไม่ค่อยจะเห็นแก่งหินจำนวนมากที่อยู่กลางแม่น้ำโขง ยังคงเห็นกระแสน้ำเชี่ยวไหลผ่านระหว่าง 2 ฟาก ไทย-ลาว ติดริมแม่น้ำโขงก็มีกระท่อมของร้านอาหารอีก 2 ร้านเรียงรายกันอยู่เบื้องล่างของร้านที่เรานั่งอยู่ ไม่ใช่ว่าไม่อยากลงไปนั่งริมน้ำ แต่คิดว่าเป็นร้านเดียวกันก็เลยเดินมานั่งร้านที่อยู่ด้านบน ถึงเพิ่งมารู้ว่ามันคนละร้านเดินทะลุลงไปไม่ได้ แต่ก็เอาเถอะมาเหนื่อยๆ ร้านไหนก็ได้ทั้งนั้นละ


แก่งกะเบา ระหว่างรออาหารที่เราสั่งไปเป็นชุด ผมออกมาเดินชมวิวแก่งกะเบาที่พอจะมองเห็นคนลงไปเดินเล่นอยู่ลิบๆ ตัวเล็กนิดเดียวที่ริมแก่ง ลักษณะของแก่งหินที่นี่คล้ายกันกับที่ 3000 โบกแต่หลุมที่เป็นแอ่งน้ำไม่มากขนาดนั้น





แก่งกะเบา




แก่งกะเบา


เมนูมื้อเที่ยง มาถึงแดนอีสาน อย่าได้ขาดส้มตำ จัดไปเลย 2 จาน ตำถั่วและตำปูปลาร้า จากนั้นก็ต้องมีเรื่องต้มผัดแกงทอด อันทำมาจากปลาแม่น้ำโขง แบบนี้ถึงจะเรียกว่ากินข้าวริมฝั่งโขง อาหารที่นี่อร่อยมาก ทุกจานครับ ที่สั่งๆ มาไม่มีคนบ่นว่าไม่อร่อยเลยสักอย่าง ราคาก็ไม่แพงด้วย ว่างๆ แวะไปชิม ไปกิน ไปพักผ่อน รับรองจะติดใจ...


ที่มา : http://www.touronthai.com